Education for Sustainability
Mahidol Sustainable University
Education for Sustainability
Research and Innovation
for Sustainability
Mahidol Sustainable University
Research and Innovation <br> for Sustainability
Operations for Sustainability
Mahidol Sustainable University
Operations for Sustainability
MU SEF
Mahidol Sustainable University
MU SEF
Highlights
การพัฒนาทุนมนุษย์
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนมีความมุ่งมั่นที่จะ “ยุติความยากจนและความโหยในทุกรูปแบบและทุกมิติ พร้อมมุ่งมั่นสร้างหลักประกันว่ามนุษย์ทุกคนสามารถบรรลุศักยภาพของตนในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และความเท่าเทียมภายใต้สภาพความเป็นอยู่ที่มีคุณภาพ” แน่นอนว่าเราต้องพัฒนาสิ่งต่าง ๆ ให้ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเราเผชิญกับความท้าทาย ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งในสังคม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อศักดิ์ศรีและความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษยชาติ
pic2-20240509-1725524854-322-983.jpg
01
5 ก.ย. 2567
โครงการส่งเสริมอาชีพทอผ้าและแปรรูปผ้าขอเอื้อสำหรับผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ตำบลโนนหนามแท่ง
โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ดำเนินโครงการบริการวิชาการ เรื่อง การส่งเสริมอาชีพทอผ้าและแปรรูปผ้าขิดลายขอเอื้อสำหรับผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ตำบลโนนหนามแท่ง ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) จำนวน 720,000 บาท ดำเนินการช่วงเดือนมิถุนายน 2566 ถึงเดือนมีนาคม 2567
pic2-20243009-1727666847-130.png
01
30 ก.ย. 2567
แผนนโยบายขับเคลื่อนการบริหารจัดการเกษตรกรรมและสิ่งแวดล้อมยั่งยืนบนฐานระบบวนเกษตรชุมชน
การนำแนวคิด ความรู้ และหลักการทางนิเวศวิทยาในการบริหารจัดการเกษตรกรรมด้วยระบบวนเกษตร สู่แผนนโยบายขับเคลื่อนชี้นำสังคม เพื่อช่วยในการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากแรงกดดันด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs)
pic2-20232804-1682657821-827-326.JPG
03
1 ก.ค. 2565
การบริหารยาเคมีบำบัดทางหลอดเลือดดำส่วนกลางที่บ้าน Ramathibodi Home Chemotherapy Model (RHCM)
การบริหารยาเคมีบำบัดทางหลอดเลือดดำส่วนกลางที่บ้าน เพิ่มประสิทธิผลการรักษา ลดค่าใช้จ่าย สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้ป่วย ยกระดับระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งของประเทศไทย เพื่อความยั่งยืนทางด้านสุขภาพของประชากรไทย
pic2-20222208-1661135519-243.jpg
03
22 ส.ค. 2565
ศูนย์ทันตกรรมพระราชทานศูนย์ทันตกรรมพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราช สุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
ศูนย์ทันตกรรมพระราชทานฯ ได้ให้การรักษาทางทันตกรรมแก่ประชาชนผู้ยากไร้ และด้อยโอกาสมาเป็นเวลานานกว่า 20 ปี และได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในอดีตสามารถให้การรักษาได้วันละประมาณ 100-150 คน โดยทำการอุดฟัน รักษาคลองรากฟันและถอนฟันเป็นส่วนใหญ่ แต่ปัจจุบันนี้สามารถให้บริการได้ถึง 250-450 รายต่อวัน สามารถให้การรักษาทางทันต กรรมได้ เช่นเดียวกับโรงพยาบาลใหญ่ๆ นับตั้งแต่การตรวจรักษาโรคในช่องปาก ในกรณีที่พบความผิดปกติในช่องปาก อาทิเช่น มะเร็งในช่องปาก ปากแหว่งเพดานโหว่และคนไข้ที่มีความผิดปกติของใบหน้าหลังการผ่าตัดหรือคนไข้ที่มีโรคในช่องปากที่ซับซ้อนเกินความสามารถของสถานพยาบาลในท้องถิ่นที่จะรักษาได้ ก็จะนำไปรักษาที่คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ยังให้ความรู้ทางทันตสุขภาพ บริการถอนฟัน รวมทั้งการผ่าตัดที่สามารถทำในหน่วยเคลื่อนที่ได้ รักษาโรคเหงือกและปริทันต์อักเสบ การอุดฟัน การรักษารากฟัน การใส่ฟันเทียมถอดได้ฐานพลาสติกแบบไม่ซับซ้อน
pic2-20222710-1666835015-973.png
03
27 ต.ค. 2565
โรงเรียนส่งเสริมกิจกรรมทางกายในประเทศไทย
การส่งเสริมกิจกรรมทางกายในโรงเรียนให้เป็นไปได้ตามเป้าหมายสูงสุด คือ “เด็กนักเรียนทุกคนได้รับโอกาสและมีกิจกรรมทางกายอย่างมีคุณภาพและเพียงพอ”
pic2-20240504-1712298408-478-635.png
03
13 พ.ค. 2566
เน็ตป๊าม้า (Net PAMA)
การพัฒนาโปรแกรมอบรมการเลี้ยงดูเชิงบวกผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (Internet-based Parent Management Training) โดยดำเนินงานเพื่อพัฒนาทักษะการเลี้ยงดูเด็กเชิงบวกให้กับผู้ปกครองที่มีข้อจำกัดในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต
pic2-20232709-1695786047-351-128.jpg
03
10 มี.ค. 2565
Mobile Stroke Unit Stroke One Stop (MSU-SOS) เชื่อมต่อกับระบบปรึกษาทางไกลและการส่งต่อผู้ป่วยแบบครบวงจรสําหรับทุกคน
MSU-SOS ถือเป็นโครงการต้นแบบการพัฒนาระบบปรึกษาทางไกล เพื่อรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลันโดยใช้รถโมบาย สโตรคยูนิตให้มี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยนําเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ติดตั้งไว้บนรถ
pic2-20231611-1700116245-901-289.jpg
05
23 มิ.ย. 2565
กิจกรรมส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ
วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นองค์การที่เล็งเห็นความสำคัญของแนวคิดความเท่าเทียมทางเพศ หลายภาคส่วนภายในวิทยาลัยนานาชาติ ทั้งกลุ่มสาขาวิชา งานกิจการนักศึกษา สโมสรนักศึกษา และชมรมนักศึกษา จึงมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศอย่างต่อเนื่องทุกปี
pic-20231808-1692329098-225-667.jpg
03
8 ส.ค. 2566
โครงการ Service Solution Design Competition
โครงการ Service Solution Design Competition เป็นโครงการที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยนานาชาติ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และกองวิเทศสัมพันธ์ เพื่อพัฒนาและบูรณาการการเรียนการสอนเชิงสหวิทยาการที่สอดคล้องกับเป้าหมายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน SDGs 3 เพื่อการมีสุขภาวะที่ดี (Good Health and Well-being)
pic2-20230505-1683270670-533.jpg
04
5 พ.ค. 2566
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ STEM & ROBOTICS CAMP
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ STEM & ROBOTICS CAMP” เป็นการจัดค่ายเสริมพิเศษนอกเวลาเรียน เพื่อพัฒนาทักษะของครูและนักเรียนด้านการโค้ดดิ้ง การจัดกิจกรรมมีลักษณะการดำเนินงานใน 3 มิติ ได้แก่ การอบรมเชิงปฏิบัติการโค้ดดิ้งสำหรับนักเรียนและครูผู้สอน การวิจัยและพัฒนากระบวนการสอนโค้ดดิ้งสำหรับครูผู้สอน และการวิจัยและพัฒนาสื่อการสอนโค้ดดิ้ง โดยแนวคิดและหลักการทำงานของคณะทำงานจะยึดหลักที่ว่า สื่อการสอนที่ใช้ในการจัดกิจกรรมต้องมีราคาไม่แพง เข้าถึงง่าย กระบวนการเรียนการสอนต้องเข้าถึงผู้เรียน คือ เข้าใจง่าย ไม่น่าเบื่อ มีความทั่วถึง และมีความยั่งยืน
pic2-20222110-1666323748-546-535.png
04
2 ก.ย. 2565
โครงการผู้สูงอายุรู้ทันสื่อ: สร้างหลักสูตรและขยายเครือข่ายนักสื่อสารสุขภาวะ (Media Literate Elderly: Creating Media Literacy Course and Expanding Networks of Communicators for Well-being)
สร้างเสริมการรู้เท่าทันสื่อให้ผู้สูงอายุไทยในเมืองและชนบท พร้อมขยายผลให้แกนนำผู้สูงอายุใน 5 พื้นที่
Highlights
เศรษฐกิจและความมั่งคั่ง
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนมุ่งมั่นที่จะสร้างหลักประกันให้มนุษย์ทุกคนสามารถมีชีวิตที่มั่งคั่งและเติมเต็มชีวิตได้ด้วยความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี อย่างกลมกลืนกับธรรมชาติความไม่เท่าเทียมเป็นหนึ่งในปัญหาที่ต้องมุ่งเน้นและให้ความสำคัญที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน
pic2-20240611-1730860055-641.jpg
07
6 พ.ย. 2567
โครงการศูนย์วิจัยและปฏิบัติการทดสอบพลังงาน เพื่อส่งเสริมการใช้อุปกรณ์ประสิทธิภาพสูงร่วมกับภาครัฐบาล ภาคอุตสาหกรรม และภาคประชาชน
การพัฒนานโยบายการติดฉลากประหยัดพลังงาน เพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในภาคผู้ประกอบการและภาคครัวเรือน
pic2-20241807-1721293862-839-851.jpg
10
5 เม.ย. 2567
กลไกการพัฒนาระบบการจ้างงานคนพิการเชิงสังคม
พัฒนาระบบที่เป็นแหล่งรวมงานที่เป็นความต้องการคนพิการ และสถานประกอบการ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ มีระบบทีมสนับสนุน เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างคนพิการและสถานประกอบการ รวมทั้งการ การสร้างการตระหนักรู้ในสถานประกอบการ และพัฒนาระบบองค์กรตัวกลาง โดยมีเครือข่ายความร่วมมือ
pic2-20240404-1712206594-831.png
10
4 เม.ย. 2567
RILCA Empowerment: Creating Refugees, Migrants as Agents of Positive Change
โครงการอบรมด้านภาษาและวัฒนธรรมให้แก่บุคลากรชาวเมียนมา เพื่อพัฒนาทักษะด้านภาษาวัฒนธรรมและวิชาชีพที่จำเป็นในการสร้างอาชีพและความเป็นอยู่ที่ดีในอนาคตแก่ผู้ลี้ภัยชาวเมียนมาในพื้นที่จังหวัดตาก
pic2-20241001-1704852705-555.jpg
11
10 ม.ค. 2567
เสริมพลังชุมชน บรรลุเป้าหมาย Net Zero สร้างความเชื่อมั่น-ยกระดับมาตรฐานส่งออก ‘ส้มโอ จ.นครปฐม’
ส่งเสริมให้ชาวสวนส้มโอชุมชน “เกาะลัดอีแท่น” ตระหนักถึง “การเพิ่มการกักเก็บคาร์บอน” เสนอแนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและพลังงานในรูปแบบที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การใช้พลังงานสะอาดจากแสงอาทิตย์ การพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อการปรับตัวให้เท่าทันสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง การเสริมสร้างชุมชนเกษตรเชิงอนุรักษ์ และการประกอบการเพื่อชุมชนยั่งยืน ตลอดจนกิจกรรมจิตอาสาเพื่อการพัฒนาต่าง ๆ
pic2-20233011-1701334829-280-627.jpg
11
24 ม.ค. 2566
โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งถือเป็นแกนสำคัญของการพัฒนาและขยายเมือง การพัฒนาเมืองแบบ Transit Oriented Development (TOD)
โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งถือเป็นแกนสำคัญของการพัฒนาและขยายเมือง การพัฒนาเมืองแบบ Transit Oriented Development (TOD) หรือหนึ่งในแนวคิดการพัฒนาเมืองและชุมชนเมืองควบคู่ไปกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง โดยเน้นการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งสาธารณะที่เป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อการเดินทาง มีการกำหนดรูปแบบการใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อสร้างชุมชนคุณภาพ น่าอยู่อาศัย น่าลงทุนธุรกิจ เพื่อส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมการเดินทาง เข้า-ออกพื้นที่ด้วยระบบขนส่งสาธารณะ และส่งเสริมการเดินทางในพื้นที่ด้วยการเดินทางที่ไม่ใช้เครื่องยนต์ หรือใช้การเดินทางสาธารณะ (1) Concept การบริหารเมืองของ TOD คือ การปรับเปลี่ยนการขยายตัวของเมืองแบบกระจัดการจายให้เป็นเมืองกระชับ ด้วยการพัฒนาพื้นที่อย่างมีขอบเขตและแนวทางซึ่งจะช่วยลดภาวะการเติบโตของเมืองอย่างไร้ทิศทาง Transit Oriented Development (TOD) จะช่วยแก้ปัญหาเมือง และมีประโยชน์ต่อชุมชน ดังนี้ ภาครัฐจะมีแนวทางในการบริหารจัดการเมืองที่ชัดเจน และเป็นรูปธรรม การเปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทางจากรถยนต์ส่วนตัวมาเป็นขนส่งสาธารณะ จะช่วยลดการก่อให้เกิดมลพิษด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสาธารณะ รวมถึงการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเดินเท้า หรือการปั่นจักรยาน ภายในบริเวณโดยรอบของการขนส่งสาธารณะเพื่อลดการเดินทางโดยใช้เครื่องยนต์ และส่งผลดีต่อสุขภาพ นอกจากนี้ ทางด้านเศรษฐกิจท้องถิ่นก็จะมีการพัฒนาให้ลงตัวกับทุก Life Style การใช้ชีวิต ทั้งย่านพักอาศัย ย่านการค้า ย่านธุรกิจ และพื้นที่สาธารณะ มีระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการครบที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ลดการใช้พลังงาน และเสริมสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีในชุมชน
pic2-20232010-1697792928-964.jpg
09
20 ต.ค. 2566
เส้นใยใบสับปะรดสำหรับสิ่งทอและอุตสาหกรรม
TEAnity Team มุ่งมั่นในการผู้นำในการผลิตเส้นใยใบสับปะรดสำหรับงานอุตสาหกรรมต่างๆ และการจัดการของเหลืองทิ้งจากแปลงสับปะรดให้เกิดประโยชน์สูงสุด
pic2-20231505-1684139833-744.png
11
15 พ.ค. 2566
โครงการ ปันรัก ปันสุข เยี่ยมบ้านบูรณาการสำหรับกลุ่มเปราะบาง
โครงการเยี่ยมบ้านบูรณาการสำหรับกลุ่มเปราะบาง เป็นการบูรณาการภาคีเครือข่ายทั้งในระดับตำบล อำเภอ จังหวัดในการเยี่ยมกลุ่มเปราะบางรายที่มีปัญหาซับซ้อนทั้งมิติด้านสังคม สุขภาพ เศรษฐกิจและสภาพแวดล้อมเพื่อร่วมกันดูแลและช่วยเหลือให้เข้าถึงบริการแบบไร้รอยต่อช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางให้ดียิ่งขึ้น
pic2-20222610-1666769539-874-339.jpg
10
6 ก.ค. 2565
โครงการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสิทธิประโยชน์ในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสารในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ของผู้พิการ
การเข้าถึงการสื่อสารวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ของผู้พิการเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่อาจกล่าวได้ว่า ในอดีตผู้ประกอบการหรือผู้ผลิตรายการไม่ได้คำนึงถึง หรืออาจจะคำนึงเป็นกลุ่มสุดท้าย อาจเป็นเพราะสื่อกระจายเสียงของไทยดำเนินการเชิงพาณิชย์เป็นส่วนใหญ่ ทำให้ผู้ประกอบการคำนึงถึงผู้ชมทั่วไป มุ่งผลิตรายการตอบสนองคนทั่วไป เพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจที่แปรผันตามจำนวนผู้ชมรายการ ทำให้ผู้พิการที่มีจำนวนน้อยมากเปรียบเทียบเชิงปริมาณกับคนทั่วไปถูกละเลยและถูกละเมิดมาโดยตลอด เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายและแผนแม่บท และขยายแนวคิดในเรื่องการรู้เท่าสื่อและร่วมกันสร้างสังคมที่เท่าเทียม ปราศจากการเลือกปฏิบัติ และสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขบนความแตกต่างการนับถือกันและกันในฐานะเพื่อนมนุษย์ สำนักพัฒนาองค์กรวิชาชีพและส่งเสริมการบริการอย่างทั่วถึง (ชส.) จึงเห็นความสำคัญของการดำเนินโครงการพัฒนาชุดการเรียนรู้สำหรับผู้พิการเพื่อสร้างเสริมความตระหนักในเทคโนโลยีการเข้าถึง หรือรับรู้ และใช้ประโยชน์จากรายการของกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เพื่อส่งเสริมให้ผู้พิการมีความรู้ ความเข้าใจ ในสิทธิและประโยชน์ในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารรวมตลอดถึงการใช้ประโยชน์จากสื่อได้อย่างรู้เท่าทัน และเพื่อให้ผู้พิการตระหนักในสิทธิของตนเอง สามารถเข้าถึงข้อมูล ข่าวสาร ผ่านกิจการโทรทัศน์ได้อย่างเท่าเทียมต่อไป
pic2-20222810-1666947737-549.jpg
07
28 ต.ค. 2565
โครงการ Research for Community วิจัยเพื่อชุมชนสังคม
นำองค์ความรู้และเทคโนโลยีถ่ายทอดไปสู่ชุมชน เพื่อให้ชุมชนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ และพึ่งพาตัวเองได้
pic2-20222110-1666339808-318-596.jpg
11
21 ต.ค. 2565
ผังแม่บทมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา พ.ศ. 2551
แนวคิดหลักมหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสีเขียว (Greens University)
pic2-20222810-1666942800-138-600.png
10
28 ต.ค. 2565
โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาเชิงระบบเพื่อการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาของเด็กนอกระบบ
พัฒนาเด็กและเยาวชนให้เติบโตเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และมีความใส่ใจในการทำความเข้าใจสถานการณ์ของเด็กและเยาวชนนอกระบบภายใต้บริบทครอบครัวและสังคมที่มีความสลับซับซ้อน
Highlights
การปกป้องโลก
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนมีความมุ่งมั่นที่จะปกป้องโลกจากความเสื่อมโทรม ด้วยการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และการดำเนินการอย่างเร่งด่วนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ “เพื่อรองรับความต้องการของคนในยุคปัจจุบันและอนาคต”
pic2-20230409-1693812171-436.jpg
06
4 ก.ย. 2566
การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด
บึงบอระเพ็ดเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ และเป็นบึงน้ำจืดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยที่มีความหลากหลาย ทางชีวภาพทางด้านพรรณพืช สัตว์น้ำ และสัตว์ป่า โดยบึงบอระเพ็ดเป็นบึงที่สร้างด้วยฝีมือมนุษย์ โดยพระบรมราชานุญาตของรัชกาลที่ 7 ให้ดำเนินการก่อสร้างเพื่อเก็บกักน้ำ ซึ่งก่อนมีการก่อสร้างฝายเพื่อสร้างบึงมีคนอาศัยอยู่ในพื้นที่บึงอยู่ก่อนแล้ว
pic2-20222908-1661764050-195.jpg
06
29 ส.ค. 2565
10 ปี ของวิทยาเขตนครสวรรค์ ในการมีส่วนร่วมพัฒนาบึงบอระเพ็ด
กระบวนการที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาบึงบอระเพ็ดตลอด 10 ปีที่ผ่านมา เป็นการใช้การวิจัยและบริการวิชาการเป็นบทบาทหลักในการทำงาน โดยแบ่งช่วงการทำงานออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะการเรียนรู้ ระยะการสร้างเครือข่าย และระยะการจัดการเครือข่าย
pic2-20222110-1666341711-408-589.png
14
18 ต.ค. 2565
การวางแผนการใช้ประโยชน์พื้นที่ทางทะเล : การประยุกต์สู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่
โครงการได้รวบรวมองค์ความรู้ทั้งในระดับสากลและระดับชาติ และจัดการประชุมผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง อันจะนำมาซึ่งข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อนการวางแผนการใช้ประโยชน์ทางทะเลสำหรับประเทศไทย และสามารถต่อยอดผลการศึกษาไปสู่การวิจัยในพื้นที่นําร่องต่อไป
pic2-20232709-1695780437-130.jpg
12
27 ก.ย. 2566
การศึกษาแนวทางการจัดการขยะอาหารอย่างบูรณาการและพัฒนาศักยภาพการจัดขยะอาหารครัวเรือนอย่างยั่งยืน
ผู้วิจัยสนใจที่จะสำรวจสถานภาพความรู้ความเข้าใจและพฤติกรรมในการจัดการขยะอาหาร ปริมาณและมูลค่าของขยะอาหารในครัวเรือนเขตเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา รวมทั้งพัฒนาศักยภาพการจัดการขยะอาหารในครัวเรือนที่ยั่งยืนให้กับประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลซึ่งจะเป็นเป้าหมายของงานวิจัยชิ้นนี้
pic2-20231109-1694405385-163.jpg
15
11 ก.ย. 2566
โครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์วัวแดง (Bos javanicus) ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ จังหวัดกาญจนบุรี ของมหาวิทยาลัยมหิดล
โครงการนี้เน้นสภาพปัจจุบันของวัวแดงในพื้นที่ต่าง ๆ เทียบกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระที่เป็นต้นแบบในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน และมีการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้และศึกษาธรรมชาติ พร้อมทั้งพัฒนาโปรแกรมสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อการเรียนรู้ของเยาวชน ประชาชน และชุมชนบนพื้นฐานจากงานวิจัยด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจการจัดการอนุรักษ์วัวแดงในพื้นที่อนุรักษ์อื่น ๆ ต่อไป
pic2-20232405-1684912594-412-515.jpg
13
1 ก.ย. 2565
โครงการพลิกฟื้นวิถีสังคมและระบบนิเวศสังคมกลุ่มชาติพันธุ์ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก Climate change Resilience of Indigenous SocioEcological systems (RISE)
ปฏิญญาสากลว่าด้วยเรื่องสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ที่ประกาศโดยสหประชาชาติให้ความสำคัญกับสิทธิในการอยู่อาศัยในแผ่นดิน เขตแดน และใช้ประโยชน์ทรัพยากรซึ่งกลุ่มชาติพันธุ์นั้นได้อยู่กินมาตั้งแต่บรรพกาลได้ครอบครอง ได้อาศัย ใช้ประโยชน์มาตั้งแต่อดีต ในบริบทนี้กลุ่มชาติพันธุ์มีสิทธิกินอยู่ มีสิทธิหาอาหาร และดำเนินวิถีชีวิตตามประเพณีต่อเนื่อง ทำให้การดูแลระบบอาหารดั้งเดิมตามประเพณีอย่างยั่งยืนนั้น เป็นประเด็นสำคัญเร่งด่วนซึ่งที่ประชุมสหประชาชาติได้ให้ความสำคัญ โดยกำหนดเป็นวาระสำคัญอย่างถาวร (United Nations Permanent Forum of Indigenous Peoples’ Issues: UNPFII) เพื่อกลุ่มชาติพันธุ์อย่างเป็นทางการ
pic2-20220710-1665127853-322.jpg
12
7 ต.ค. 2565
การจัดการความรู้เพื่อการบริหารจัดการพันธุ์ข้าว และกระบวนการจัดการเครือข่ายของ Young Smart Farmer เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม (Knowledge management for rice varieties and network management of Young Smart Farmer to cope with climate variability)
ถอดกระบวนการเรียนรู้ การสั่งสม การถ่ายทอดองค์ความรู้ของเกษตรกรด้านการบริหารจัดการพันธุ์ข้าวในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย รวมถึงวิเคราะห์กระบวนการสร้างและการจัดการเครือข่ายของ Young Smart Farmer เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและการใช้ประโยชน์เชิงนโยบายสาธารณะด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน
pic2-20230205-1683014834-152-580.jpg
13
7 ต.ค. 2565
โครงการพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูงเพื่อเป็นชุมชนคาร์บอนต่ำและยั่งยืน ร่วมกับมูลนิธิโครงการหลวง
การศึกษาและยกระดับการพัฒนาโครงการหลวงให้เป็นชุมชนคาร์บอนต่ำและยั่งยืน โดยการสร้างมาตรฐานการพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูงคาร์บอนต่ำและยั่งยืนให้ชุมชนโครงการหลวงใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาสู่ต้นแบบชุมชนบนพื้นที่สูงคาร์บอนต่ำและยั่งยืนที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน
pic2-20221008-1660115130-752-361.jpg
15
10 ส.ค. 2565
พฤติกรรมและบริบทเฉพาะของชะนีมือขาว (WHITE-HANDED GIBBONS)
ดร.จันทร์เพ็ญ ศรลัมพ์ ได้มีการศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่องตั้งแต่การติดตามศึกษาพืชอาหารของชะนี การกระจายเมล็ด และพลวัตป่า และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ณ แปลงศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพมอสิงโต และเรื่องนิเวศวิทยาและพฤติกรรมของชะนีมือขาวในอุทยานแหงชาติเขาใหญ่ ประเทศไทย เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 2012 และมีการดำเนินโครงการวิจัยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันโครงการวิจัยที่กำลังดำเนินการ คือ ความแปรผันของเสียงร้องกับบริบทเฉพะของชะนีมือขาว โดยมี Dr. Ulrich H. Reichard จาก Southern Illinois University, USA เป็นหัวหน้าโครงการ
Highlights
สันติภาพ
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างสังคมที่สันติและยุติธรรมสำหรับทุกคน และสังคมที่เป็นอิสระจากความกลัวและความรุนแรง เพราะการพัฒนาที่ยั่งยืนไม่สามารถเกิดขึ้นได้โดยปราศจากสันติภาพ และสันติภาพก็เกิดขึ้นไม่ได้หากไม่มีการพัฒนาที่ยั่งยืน
pic2-20243009-1727690650-825-591.jpg
16
18 ต.ค. 2565
ธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัยมหิดล
มหาวิทยาลัยมหิดล มีนโยบายในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการองค์กรที่มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อการบริการจัดการองค์กรอย่างยั่งยืนเพื่อมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก
pic2-20240111-1730434325-758-508.jpg
16
1 ก.ย. 2565
มหาวิทยาลัยมหิดลกับการมีส่วนร่วมในการหนุนเสริมกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
โครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา และสภาประชาสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้ เห็นความสำคัญของกระบวนการพูดคุยสันติภาพสำคัญต่อการแก้ปัญหาพื้นที่จังหวัดชายแอนภาคใต้อย่างยั่งยืน จึงได้ใช้กระบวนการสานเสวนาสร้างพื้นที่แห่งความร่วมมือระหว่างตัวแสดงที่มีอิทธิพลและบทบาทในการแก้ปัญหาทางสังคมการเมือง ได้แก่ ภาคประชาสังคมและนักการเมือง โดยได้ดำเนินการต่อเนื่องหลายปีด้วยความสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยมหิดล จนสามารถจัดทำ “ข้อตกลงร่วมเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ระหว่างนักการเมืองกับภาคประชาสังคม” และงานแรกที่ร่วมกันผลักดันคือ “การตั้งคณะกรรมาธิการกระบวนการพูดคุยสันติภาพ” ผ่านกลไกรัฐสภา
pic2-20231611-1700116953-790-516.png
16
1 ก.ย. 2565
กลุ่มถักทอสันติภาพ (กทส.) (Weaving Peace Together)
กลุ่มถักทอสันติภาพ (กทส.) มีวัตถุประสงค์ 5 ประการ 1) ส่งเสริมให้เครือข่ายชาวพุทธเป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับ 2)ส่งเสริมให้เครือข่ายชาวพุทธมีความเข้าใจและดำเนินการร่วมกัน 3)นำเสนอความต้องการ ความกลัว และความกังวลของชาวพุทธ 4)ทำงานร่วมกับชุมชนชาวพุทธอย่างจริงจัง 5)ร่วมมือกับชุมชนมุสลิมเพื่อสร้างอนาคตอันสงบสุขร่วมกัน ประกอบด้วยบุคลากรสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา และเครืออข่ายชาวพุทธ ร่วมออกแบบโครงการย่อยตาม 4 แนวเรื่อง ได้แก่ ชุมชนพุทธเข้มแข็ง ความสัมพันธ์ระหว่างชาวพุทธ-มุสลิม การส่งเสริมกระบวนการสันติภาพ การสื่อสารและการเชื่อมต่อสังคม ผลผลิตสำคัญ ได้แก่ องค์ความรู้ และการเกิดขึ้นของกลุ่มถักทอสันติภาพ
pic2-20242612-1735202718-431-83.jpg
16
2 มี.ค. 2565
เพื่อนรักต่างศาสนา: ผู้นําถักทอสันติภาพและความปรองดองในสังคมไทย
โครงการเพื่อนรักต่างศาสนา: ผู้นำกับการถักทอสันติภาพและความปรองดองในสังคมไทย ได้ใช้การสานเสวนาเรื่องสุขภาพเป็นจุดเริ่มต้นนำไปสู่การสร้างความไว้วางใจและปรองดอง เพื่อนำมาสู่สันติภาพในสังคมที่มีความขัดแย้งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
pic2-20240404-1712217448-144.jpg
16
4 เม.ย. 2567
สารคดีชุด “SOME ONE หนึ่งในหลาย”
สารคดีชุด “SOME ONE หนึ่งในหลาย” สารคดีที่มุ่งส่งเสริมความเข้าใจของบุคคล ชุมชน และสังคมที่อยู่นอกเหนือจากกรอบสังคมที่คุ้นเคย ผ่านแนวคิด “สังคมพหุนิยม” หรือ Pluralism ซึ่งเป็นแนวคิดที่ยอมรับความหลากหลายในสังคม ให้ความสำคัญแก่ “ความแตกต่างหลากหลาย” รวมถึงบทบาทที่ถูก “ละเลย” และ “ละเมิด” ทั้งในระดับปัจเจกและสังคม เพื่อสร้างการรับรู้ เคารพ และยอมรับในสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้คนในกลุ่มวัฒนธรรมต่าง ๆ ด้วยขันติธรรม และเพื่อส่งเสริมให้เกิดการเปิดกว้างทางความคิดที่จะนำไปสู่สังคมสันติสุขอย่างยั่งยืน
pic2-20222710-1666836640-206.jpg
16
27 ต.ค. 2565
โครงการจากใจสู่ใจ (ระยะที่ 4) คุณค่า ความสุข และพลังภายในที่แท้จริง เพื่อชีวิตหลังกำแพง
โครงการจากใจสู่ใจ ระยะที่ 4 คุณค่า ความสุข และพลังภายในที่แท้จริง เพื่อชีวิตหลังกำแพง โดยศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับเรือนจำกลางขอนแก่น
pic-20221003-1646907205-685.jpg
16
10 มี.ค. 2565
Lecturer Workshop on Teaching Human Rights
Since 2017, the Institute of Human Rights and Peace Studies, Mahidol University, as a convener of the Human Rights Education theme of the ASEAN University Network (AUN-HRE), and the SHAPE-SEA Program have been co-organizing annual Regional Lecturer Workshops for university lecturers from ASEAN countries with an aim to strengthen knowledge and capacity for academics and government personnel in international human rights laws.
Highlights
การเสริมสร้างความร่วมมือ
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนมีความมุ่งมั่นที่จะสร้าง "จิตวิญญาณแห่งความเป็นหนึ่งเดียวกันทั่วโลกให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น โดยมุ่งเน้นไปที่ความต้องการของผู้ยากไร้และกลุ่มเปราะบาง ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือและการมีส่วนร่วมจากทุกประเทศ ทุกภาคส่วน และทุกคน"
pic2-20220311-1667450261-420-346.png
17
25 ก.ค. 2565
โครงการ Norwegian Scholarship Projects ระหว่างรัฐบาลนอร์เวย์ โดยสถานทูตนอร์เวย์ประจำประเทศเมียนมา สถานทูตนอร์เวย์ประจำประเทศอินโดนีเซียและมหาวิทยาลัยมหิดล
โครงการ Norwegian Scholarships Projects เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลนอร์เวย์ โดยสถานทูตนอร์เวย์ประจำประเทศเมียนมา สถานทูตนอร์เวย์ประจำประเทศอินโดนีเซียและมหาวิทยาลัยมหิดล มอบทุนศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา เพื่อมาศึกษา ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ในลักษณะ Co-funding จำนวน 4 สาขา ได้แก่ Life Science & Health, Environmental Sciences and Engineering, Social & Population Science และ Human Rights & Peace Studies
pic2-20233011-1701333797-352-639.jpg
17
15 พ.ค. 2566
โครงการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนศึกษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
การส่งเสริมสิทธิมนุษยชนศึกษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นหนึ่งในแผนงานเชิงยุทธศาสตร์ของโครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา (IHRP) มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษาผ่านการเสริมสร้างศักยภาพ การเสริมสร้างอำนาจ และการเผยแพร่ความรู้ในหมู่นักวิชาการ นักวิจัย นักศึกษาและภาคส่วนต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มานานกว่าทศวรรษ นอกเหนือจากหลักสูตรด้านสิทธิมนุษยชนและสันติภาพในระดับบัณฑิตศึกษาแล้ว สถาบันฯ ยังทำงานร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศเพื่อเสริมสร้างศักยภาพ ทักษะ และความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษาสำหรับนักวิชาการในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยในช่วงหลังได้เน้นการทำงานไปที่กลุ่มนักวิชาการในเมียนมาร์ที่ได้รับผลกระทบจากการรัฐประหารเมื่อปี 2564
pic2-20233011-1701334103-151-497.png
17
31 ส.ค. 2565
โครงการ “การพัฒนาหลักสูตรและรูปแบบการเรียนการสอนเพศวิถีศึกษาแบบรอบด้าน สำหรับเยาวชนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในโรงเรียนโสตศึกษา”
การดำเนินงานโครงการ “การพัฒนาหลักสูตรและรูปแบบการเรียนการสอนเพศวิถีศึกษาแบบรอบด้านสำหรับเยาวชนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในโรงเรียนโสตศึกษา” เพื่อพัฒนาหลักสูตรและรูปแบบการเรียนการสอนเพศวิถีศึกษา ที่เหมาะสมกับเยาวชนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในโรงเรียนโสตศึกษาอย่างมีส่วนร่วม รวมทั้งสื่อสารเพื่อกระตุ้นและสร้างความตระหนักให้กับหน่วยงาน/ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ถึงความสำคัญของการเรียนการสอนเพศวิถีศึกษาอย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิผลในกลุ่มเยาวชนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
pic2-20230105-1682910796-415-286.jpg
17
23 มิ.ย. 2565
โครงการพัฒนาทักษะกำลังคนของประเทศ (Reskill/Upskill/Newskill) เพื่อการมีงานทำและเตรียมความพร้อมรองรับการทำงานในอนาคต หลังวิกฤตการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขา ผู้ดูแลเด็กในศตวรรษที่ 21
ประเทศได้ก้าวผ่านวิกฤตการระบาดของไวรัสโคโรนา ทำให้เกิดจ้างงานมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าตลาดแรงงานที่ให้บริการจะขยายตัว และมีความต้องการผู้ดูแลเด็กมากขึ้น ผู้ดูแลเด็กจึงเป็นอาชีพที่มีความสำคัญกับครอบครัวในปัจจุบัน
pic2-20223108-1661931718-803.jpg
17
31 ส.ค. 2565
โครงการ “การศึกษาพัฒนารูปแบบบริการสุขภาพปฐมภูมิที่บูรณาการกับบริการทางสังคมสำหรับคนพิการ”
โครงการ “การศึกษาพัฒนารูปแบบบริการสุขภาพปฐมภูมิที่บูรณาการกับบริการทางสังคมสำหรับคนพิการ” เป็นโครงการที่วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อนำนโยบายสู่การปฏิบัติ โดยร่วมกับภาคีเครือข่ายภาครัฐ และภาคประชาชน ได้แก่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.), สถาบันสิริธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข, สภาศูนย์การดำรงชีวิตอิสระของคนพิการประเทศไทย (TIL) และ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติเพื่อให้เกิดความยั่งยืน (SDG 17) ในการพัฒนา/ การดูแลด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของคนพิการ (SDG 3) เป็นการเพิ่มโอกาส /ลดความเหลื่อมล้ำ ในการเข้าถึงบริการทางสุขภาพและบริการทางสังคมของคนพิการ (SDG 10)
pic2-20220311-1667449174-684-347.png
17
25 ก.ค. 2565
โครงการ MFA – MU Capacity Building for Medical and Health Science Education Hub
มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ตกลงทำบันทึกความเข้าใจ ในปี ๒๕๖๔ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพของมหาวิทยาลัยมหิดลด้วยเทคนิควิธีการที่ทันสมัยผ่านผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันระดับโลก (Train the Trainers) ซึ่งนำไปสู่การถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ได้รับจากผู้เชี่ยวชาญต่อไปยังบุคลากรในภาคส่วนนั้นๆ ทั้งในการรักษาพยาบาลประชาชนในประเทศและการกระจายองค์ความรู้สู่การพัฒนาทางการแพทย์นอกประเทศ (Training the Others) ในประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะในกลุ่ม CLMV ตลอดจนเป็นการสร้างเครือข่ายทางการแพทย์ในระดับภูมิภาคและนานาชาติ เพื่อส่งเสริมยุทธศาสตร์ทางการทูตเพื่อการพัฒนา (Development Diplomacy) และการทูตเชิงเวชการ (Medical Diplomacy) โดยความร่วมมือดังกล่าวสอดคล้องกับ Sustainable Development Goals ในด้าน Partnerships for the goals ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยในด้าน Education for Sustainability เนื่องจากมุ่งเน้นในด้านของการพัฒนาองค์ความรู้ของบุคลากรด้านการแพทย์ในประเทศไทย ซึ่งจะเป็นผู้ทำหน้าที่ส่งต่อองค์ความรู้ไปยังประเทศที่กำลังพัฒนาต่อไป ซึ่งภายใต้ความร่วมมือดังกล่าวมีโครงการจาก ๓ ส่วนงาน
Sustainability Strategy
img
img
มหาวิทยาลัยมหิดลให้พันธสัญญาที่จะดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งด้านการวิจัยและนวัตกรรม การศึกษา และการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อทำให้เกิดความยั่งยืนในอนาคต
Mahidol
Sustainable University
ศูนย์
หอสมุดและคลังความรู้
สำนักงานอธิการบดี